พืชอายุสั้นถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่อยู่คู่กับบ้านเรามาเป็นระยะเวลานาน โดยพืชผักอายุสั้นเกษตรกรในบ้านเรานิยมปลุกเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ได้แก่ ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า หอม ผักชี ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดขาวปลีพันธุ์เบา เป็นต้น เนื่องจากผักอายุสั้นมีวิธีการในการดูแลรักษาง่าย สามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แถมยังสามารถสร้างกำไรและรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างมาก จนได้มีหนุ่มสุพรรณรายหนึ่งมองเห็นว่าการนำพืชอายุสั้นมาประยุกต์เข้ากับพื้นที่ว่าง 3 งาน กลับช่วยสร้างกำไรให้เขามากกว่าขึ้นร้านเลยทีเดียว
“เรามีพื้นที่ว่างให้ทำกินแค่ 3 งาน จึงปลูกได้แค่พืชอายุสั้น แตงกวา บวบ ถั่วฝักยาว เพราะขายทำเงินได้เร็ว ที่ผ่านมาแม้พ่อแม่จะขยันมากแค่ไหน มีรายได้มีเงินเหลืออะไรไม่มากมาย จึงคิดว่าถ้าจะปลูกผักแบบเดิมๆ เหมือนที่พ่อแม่เคยทำ คงไปไม่รอด จึงเปลี่ยนมาเป็นการทำเกษตรสมัยใหม่ ใช้พื้นที่น้อยแต่ได้เงินมาก”
รูปแบบในการประยุกต์นี้เกิดจาก คุณปิยะ กิจประสงค์ มีอาชีพเกษตรกรอยู่ที่ ต.ปลายนา อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ซึ่งมีอายุน้อยเพียง 29 ปีเท่านั้น คุณปิยะจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน คณะเกษตร หลังจากนั้นคุณปิยะได้เข้าทำงานเป็นพนักงานปรับปรุงพันธุ์พืชของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งเป็นระยะเวลากว่า 6 ปี จนกระทั้งเขารู้สึกว่าควรนำความรู้ที่ตนเองได้มีอยู่เกี่ยวกับพืชและเกษตรกรรมมาทำธุรกิจกางมุ้งของตนเอง ในตอนนั้นคุณปิยะมีพื้นที่ทำหรับทำสวนเพียง 3 งาน เท่านั้นเขาจึงตัดสินใจปลูกพืชอายุสั้น เช่น แตงกวา บวบ ถั่วฝักยาว เนื่องจากสามารถส่งขายและนำเงินมาหมุนเวียนได้อย่างรวดเร็ว แต่หลังจากได้ศึกษาเพิ่มขึ้นบวกกับประสบการณ์ของครอบครัวที่เป็นเกษตรกรอยู่แล้วจึงตัดสินใจเปลี่ยนมาทำเกษตรสมัยใหม่แทนซึ่งใช้พื้นที่น้อยแต่สามารถทำเงินได้จำนวนมาก
คุณปิยะลงทุนปลูกโรงเรือนหลังแรกในพื้นที่ 1 งาน จากนั้นเขาทำได้ทำการศึกษาข้อมูลว่าควรเลือกพืชระยะสั้นชนิดใดจึงจะเหมาะสมกับโรงเรือนของตนเอง รวมไปถึงเทคนิคในการเพาะปลูก การดูแลพืช และยังสำรวจการตลาดว่าผู้บริโภคภายในพื้นที่นั้นต้องการพืชผักชนิดใดมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น ผักกินใบหลายชนิด เมล่อน และสุดท้ายคุณปิยะเลือกมะเขือเทศราชินี เป็นพืชหลักสำหรับการเพาะปลูก เขาได้ใช้พื้นที่ในโรงเรือนปลูกมะเขือเทศราชินีเป็นจำนวน 460 ต้น ซึ่งให้ผลผลิตที่ดีในช่วงฤดูหนาวจึงทำให้ได้ราคาดีสูงถึงกิโลกรัมละ 100-150 บาท
แม้ว่าการปลูกพืชในโรงเรือนจะมีข้อเสียอยู่บ้าง ในด้านของพื้นที่จำกัด การดูแลอากาศภายในต้องสะอาดและได้คุณภาพ แถมยังไม่มีแมลงตามธรรมชาติมาช่วยในการผสมเกสรให้กับมะเขือเทศเพาะพันธุ์ได้เพิ่มขึ้น คุณปิยะจึงใช้สารออกซินสังเคราะห์ซึ่งเป็นสารที่ช่วยทำหน้าที่ในการผสมเกสร ปัจจุบันคุณปิยะมีโรงเรือนสำหรับเพาะปลูกพืชระยะสั้นจำนวน 3 หลัง สรุปผลผลิตของเขาแต่ละเรือนได้กำไรสูงถึง 160,000 บาท ส่วนรสชาติของมะเขือเทศจะขึ้นอยู่กับปุ๋ยที่เขาผสมด้วยตนเองจึงทำให้รสชาติดี สด และน่ากินเป็นอย่างมาก
ขอบคุณที่มา: http://www.thairath.co.th/content/552483
หนุ่มสุพรรณประยุกต์พื้นว่าง 3 งาน ปลูกพืชอายุสั้น-ฟันกำไรกว่าครึ่งล้าน
Reviewed by Unknown
on
06:44:00
Rating: